วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 4

ถ้าพิพิธภัณฑ์ของคุณเปรียบเสมือนหนังเรื่องนึง....คุณจะเล่าเรื่องนั้นอย่างไร...

23 ความคิดเห็น:

ttopp กล่าวว่า...

คงจะออกมา เหมือนกนังเรื่อง HERO ที่เจทลีเล่น

ดังที่ได้บอกไว้ว่าจะแบ่งเป็นหลายแพร่ง

พิพิธภัณฑ์ คงจะต้องเล่าแบบว่า

1-2-3-4-5-6-7-8-9-8-7-6-5-4-3-2-1

และก้อเข้ามาอีกทางหนึ่ง
ก้อเริ่มเล่า

1-2-3-4-5-6-7-8-9-8-7-6-5-4-3-2-1


เป็นแบบนี้ไปทุกแพร่ง

เริ่มจาก 0 ซึ่งเป็นโถงกลาง และออกนับ 1 แต่ยังไงก้อนับถอยหลังมาเริ่มที่ 0 อยู่ดี เพื่อ ไปนับ 1 ในอีกแพร่งหนึ่ง และก้อกลับมาที่ 0


สุดท้ายให้ผู้เข้าชม สรุปทั้งหมดว่าเขาคิดว่า สิ่งที่ทำให้ชีวิตเขามีความสุขมากที่สุดคือแพร่งไหน

กิ๊บ กล่าวว่า...

เล่าโดยที่คนมาดู มีการตอบสนองกับตัว นิทรรศการ และตัวนิทรรศการมีการตอบสนองกับคนดู

นิทรรศการ(ระบบย่อยอาหาร)
จัดแสดงโดยเรียงลำดับการทำงานจริงของระบบร่างกาย โดยเปรียบให้เราเป็นอาหารที่เริ่มเข้าตั้งแต่ปากไป จนถึงลำไส้ใหญ่

นิทรรศการ(ระบบหมุนเวียนโลหิต )
เล่าจาก 1 2 3 4 5 4 3 2 1 โดยให้หัวใจเป็นศูนย์กลางของระบบและเป็นจุด PEAK ทีสุดของงาน

Ball กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ ดนตรีร็อค
Museum of Rock
วิธีการเล่าเรื่องจะใช้วิธีการเล่าเรื่องจากChapterหลังไปหน้า จะใช้ระบบ 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 คือ จะเปิดเรื่องด้วยแนวดนตรีร็อคต่างๆในสมัยนี้ แล้วค่อยตัดถอนลงไปเรื่อยๆจนเมื่อผู้ที่เข้ามาชมดูจนจบ ก็จะรู้ว่าแนวดนตรีRockในสมัยนี้มีต้นกำเนิดมาจากแนวอะไร

ออฟ กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ กอล์ฟ

วิธีการเล่าเรื่องพิพิธภัณฑ์นี้ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ

1-2-3-4-5-6-7-8-9-10

ตอนแรกก็จะเป็นการบรรยายประวัติความเป็นมาก่อนแล้วก็ไปเรื่อยๆเป็นการแสดงวิธีอุปกรณ์ต่างๆแล้วก้มีการให้ทดลองการตีสุดท้ายก็จะมีสิ่งของต่างๆ
แต่ละขั้นตอนก็จะมีเทคนิกการจัดแสดงต่างๆกันไปอย่างเช่น จะมีการเหมือนเราไปตีกอล์ฟในสนามจริงๆแต่คล้ายๆเป็นเกมตีอยู่กับที่ที่จอ แต่ละส่วนจะมีการเชื่อมต่อกัน โดยที่จะเกี่ยวกับ กอล์ฟทั้งนั้น มีจุดที่เชื่อมต่อของแต่ละส่วนคือ ลูกกอล์ฟ ที่เป็นส่วนสำคัญ

บอมบ์ กล่าวว่า...

Gender Museum
วิธีการนำเสนอคล้ายกับหนังเรื่อง MOULIN ROUGE
โดยตัวเรื่องตอนเริ่มเเรก จะมีคีย์เวิร์ดที่บอกใบ้ถึงบทสรุปของหนัง ตัวหนังดำเนินโดยมีตัวพระเอกซึ่งเป็นนักเขียน เป็นคนเล่าถึงเนื้อเรื่องทั้งหมด เนื้อเรื่องจะดำเนินไปโดยสลับกับละครเพลง ที่แสดงถึงความรู้สึกของตัวละครในฉากนั้นๆ

พิพิธภัณฑ์ก็นำเสนอโดยสมมุติตัวละครขึ้นมาตัวหนึ่งเป็นตัวดำเนินเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์ โดยเนื้อหา จะกล่าวถึงบทสรุปของพิพิธภัณฑ์ก่อนแล้วจึงคือยๆๆดำเนินเรื่องราวของเนื้อหา โดยที่รูปแบบของเนื้อหาไม่ได้เป็นตัวหนังสือห้อ่านเสียทั้งหมด เเต่จะทำออกมาในรูปแบบของงานศิลปะแขนงต่างๆ อาจจะมีคีย์เวิร์ดซึ่งเป็นไกด์ไลน์ให้ผู้เข้าชมได้มีเเนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน

บอมบ์ กล่าวว่า...

Gender Museum
วิธีการนำเสนอคล้ายกับหนังเรื่อง MOULIN ROUGE
โดยตัวเรื่องตอนเริ่มเเรก จะมีคีย์เวิร์ดที่บอกใบ้ถึงบทสรุปของหนัง ตัวหนังดำเนินโดยมีตัวพระเอกซึ่งเป็นนักเขียน เป็นคนเล่าถึงเนื้อเรื่องทั้งหมด เนื้อเรื่องจะดำเนินไปโดยสลับกับละครเพลง ที่แสดงถึงความรู้สึกของตัวละครในฉากนั้นๆ

พิพิธภัณฑ์ก็นำเสนอโดยสมมุติตัวละครขึ้นมาตัวหนึ่งเป็นตัวดำเนินเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์ โดยเนื้อหา จะกล่าวถึงบทสรุปของพิพิธภัณฑ์ก่อนแล้วจึงคือยๆๆดำเนินเรื่องราวของเนื้อหา โดยที่รูปแบบของเนื้อหาไม่ได้เป็นตัวหนังสือห้อ่านเสียทั้งหมด เเต่จะทำออกมาในรูปแบบของงานศิลปะแขนงต่างๆ อาจจะมีคีย์เวิร์ดซึ่งเป็นไกด์ไลน์ให้ผู้เข้าชมได้มีเเนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน

เกตุ กล่าวว่า...

เล่าโดยเริ่มจากความผิดที่คนส่วนใหญ่ได้ทำกันหรือตัวอย่างที่เป็นคดีดังๆ
แล้วนำเรื่องราวเหล่านี้โยงถึงบทลงโทษที่จะได้รับ
โดยต่อมาจะพูดถึงการจองจำว่าต้องโดนอะไรบ้างโดยเริ่มตั้งแต่อดีตที่ได้มีการยกเลิกไปแล้ว
จากนั้นเมื่อเดินมาอีกจุดก็จะเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษ..ที่มีมาแต่อดีต..หรือการทรมาณเพื่อให้สารภาพเป็นต้น
และอีกโซนหนึ่งจึงเป็นเกี่ยวกับเรื่องประหาร
โดยแต่ละโซนที่กล่าวถึงอาจมีการยกตัวอย่างเรื่องราวการลงโทษทำอะไรถึงโดนอย่างนี้เป็นต้น
สุดท้ายบทสรุปของพิพิธภัณฑ์นี้จะเป็นเรื่องตัวอย่างของนักโทษบางคนที่ได้ทำผิดและสำนึกผิด
...เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่ควรทำและเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ดีที่ผู้ปกครองสามารถนำมาสอนบุตรหลานขณะเดินดูได้

โซ่ กล่าวว่า...

โซ่
พิพิธภัณฑ์มด
จะทำเป็นแบบ พลังมหัศจรรย์ของมด โดยเริ่มเเรกเข้ามาเป็นโถงกลางก็จะเป็นเเบบรูปร่างมดที่เห็นทั่วไป พวกกายวิภาคของมด พอเข้ามาเรื่อยๆก็จะเริ่มเล่าเป็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับมด ตั้งแต่สายพันธุ์ การสร้างรัง การใช้ชีวิต หาอาหาร ล่าเหยื่อ ป้องกันศัตรูความสามัคคี และก้อมาถึงมุมมมองของมดที่คนไม่ค่อยรู้กันมาถึงที่เดิม ที่คนเข้ามาตอนเเรก ที่มีความคิดเเค่มดเป็นสัตว์เล็กๆธรรมดาๆ ซึ่งเดินกลับมาที่จุดเดิมอีกครั้งมุมมองของผู้ชม ก็อาจจะเปลี่ยนได้ว่ามดไม่ใช่สัตว์ที่เราเห็นว่าเป็นสัตว์เล็กธรรมดาๆและอาจจะเปรียบได้กับตัวเราว่า อืม!ขนาดกับพลังของมันแตกต่างในขณะที่เรามีขนาดใหญ่มันมาก

โซ่ กล่าวว่า...

โซ่
พิพิธภัณฑ์มด
จะทำเป็นแบบ พลังมหัศจรรย์ของมด โดยเริ่มเเรกเข้ามาเป็นโถงกลางก็จะเป็นเเบบรูปร่างมดที่เห็นทั่วไป พวกกายวิภาคของมด พอเข้ามาเรื่อยๆก็จะเริ่มเล่าเป็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับมด ตั้งแต่สายพันธุ์ การสร้างรัง การใช้ชีวิต หาอาหาร ล่าเหยื่อ ป้องกันศัตรูความสามัคคี และก้อมาถึงมุมมมองของมดที่คนไม่ค่อยรู้กันมาถึงที่เดิม ที่คนเข้ามาตอนเเรก ที่มีความคิดเเค่มดเป็นสัตว์เล็กๆธรรมดาๆ ซึ่งเดินกลับมาที่จุดเดิมอีกครั้งมุมมองของผู้ชม ก็อาจจะเปลี่ยนได้ว่ามดไม่ใช่สัตว์ที่เราเห็นว่าเป็นสัตว์เล็กธรรมดาๆและอาจจะเปรียบได้กับตัวเราว่า อืม!ขนาดกับพลังของมันแตกต่างในขณะที่เรามีขนาดใหญ่กว่ามันมาก

ปิง กล่าวว่า...

drawing & painting museum
พิพิธภัณฑ์ จะเล่าเรื่องในแบบ หลายๆมุม ในตอนเดียวกันโดยยึด ประวัติศาสตร์ และกาลเวลา เป็นเกณฑ์
เปรียบเทียบ ว่า ช่วงนี้เกิดอะไรขึ้น จิตรกร กำลังคิดอ่ะไร ที่พูดว่าหลายมุมมองก้อหมายถึง ในแต่ละช่วงเวลานั้น ไม่ได้หมายถึง ศิลปินเพียงคนเดียว แต่ละคนมีความคิดและมุมมองในแบบของเขา แตกต่างกันไป
เมื่อเอาเข้ามารวมในงานแล้ว จะเป็นแบบสมมุติให้ ห้องที่เกิดในเวลายุคนี้ ถูกสร้างสรรโดยศิลปินแต่ละท่าน อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นตอนๆ ไปเรื่อยๆ จนจบ นั้นก็หมายถึง จุดประสงค์ของผมที่ต้องการเล่าเรื่องราว ต่างๆในประวัติศาสตร์ ออกมาโดย มีศิลปินหลายท่านเป็นนักแสดง โดยผ่านความคิดและผลงาน ของพวกเค้า

Bigg กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ ผู้สร้างโลก
Museum of God

เริ่มต้นจากผลลัพธ์ แล้วค่อยนำเสนอ จากจุดเริ่มต้นใหม่

6-1-2-3-4-5-6

เลข 6 ในช่องแรกต่างกับช่องหลังเพราะช่องแรกคือผลลัพธ์ของบุคคลสำคัญ แต่ 6 ตัวสุดท้ายจะเป็นผลลัพธ์ ที่ผู้เข้าชมกำหนดให้เป็น คือ โลกในมุมมองของคน ๆ นั้นที่จะให้เป็น

+ o = กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ ภาษาไทย


เริ่มจากส่วนของประวัติศาสตร์ตั้งแต่ถึงปัจจุบัน
เป็นการเล่าเรื่องแบบ 1-2-3-4-5
โดยแสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้น การพัฒนา การเปลี่ยนแปลง ของภาษาไทย ว่าตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรโดยให้ผู้ชมได้เห็นถึงการพัฒนาของภาษาไทย เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ และความสวยงามของภาษาไทย และมีการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนไปอย่างไร
โดยให้ผู้ชมเกิดความคิดเปรีบยเทียบขึ้นมาว่า ในปัจจุบันการใช้ภาษาไทยต่างกับในอดีตอย่างไร และทำให้เกิดความรัก ความภูมิใจในภาษาไทย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์พับกระดาษ

ประเพณีมีเหลี่ยม
1.เริ่มเล่าจากการกำเนิดของกระดาษนิดหน่อย
จนมาสู่ประเพณีการพับตั้งแต่โบราณ ที่เป็นการ
ถ่ายทอดแบบปากต่อปาก มือต่อมือ(คิดลึกได้ครับ)

จากขนบสู่ระบบ
2.จนมาถึงผู้ที่วางรากของงานพับกระดาษให้แน่นขึ้น
โดยการคิดระบบ และทำหนังสือรวบรวม
ทำให้เกิดแบบแผนมากขึ้น

ระบบพบสร้างสรรค์
3.งานพับกระดาษที่กระจายออกไปทั่วโลก
เป็นงานที่แสดงเกี่ยวกับความคิดของคนในทวีปต่างๆ
ผ่านกระดาษเหมือนกัน

กระดาษแผ่นใหม่
4.เป็นงานในอนาคต ที่เริ่มมีการใช้หลักการพับกระดาษไปสู่ งานออกแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย
มากขึ้น

ซาดาโกะ ไฟท์โตะ (special feature)
*.เป็นเรื่องที่เชื่อมระหว่างวัฒนธรรมและการพับกระดาษที่เห็นได้ชัด อาจจะเป็นเรื่องเล่าเสริม
ระหว่างทางที่เดิน

เล่าจาก 3-1-*-2-3-4

เอางานที่แรงๆ ให้ผู้ชมได้เห็นก่อน แล้วย้อนไปหาประวัติ ไล่จนไปถึงนิทรรศการสุดท้าย

ป่าน กล่าวว่า...

เป็นหนังประวัติศาสตร์เล่าตั้งแต่เริ่มมีดนตรีเกิดขึ้น มีการพัฒนาความเป็นมาอย่างไร ขณะที่คนกลุ่มหนึ่งเล่นดนตรีประเภทหนึ่ง แต่อีกกลุ่มกลับมีวิธีการที่ต่างออกไป อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดความแตกต่าง และอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้ดนตรีพัฒนามาถึงปัจจุบัน

ใหม่ กล่าวว่า...

เริ่มเรื่อง บทที่1.ประวัติศาสาตร์ตามกาลเวลา เล่าโดยใช้รองเท้าเป็นพระเอก คนใช้เป็นตัวร้าย
บทที่2.องค์ประกอบต่างๆของรองเท้า ใช้วัสดุที่มีอยู่ในรองเท้าเป็นตัวเล่าเหตุการณ์ เป็นฉากๆ
บทที่3-4-5.การใช้ความรู้สึก!ใช้จิตนาการของผู้ชม สัมผัสหรือเข้าถึง {ถ้าโลกนี้ไม่มีรองเท้า}!
จบเรื่อง บทที่6.สรุปสั้นๆ
บทที่7.ฝากคำถามใน บทที่3-4-5 กลับไปคิดที่บ้าน เป็นคำถามที่ ตอบได้หลายทาง และใช้ตัวของผู้ตอบนั้น เป็นตัวชี้วัดคุณค่าของรองเท้า

สา กล่าวว่า...

เริ่มเรื่องตั้งแต่อะไรทำให้เกิดผ้าไทย สงครามทำให้เราได้ซึมซับวัฒนธรรมต่างแดนเข้ามาผสมจนทำให้เกิดผ้าพื้นเมืองของแต่ละจังหวัด ลวดลายจึงแตกต่างกัน

กรรมวิธีการทอผ้า ลวดลายต่างๆเกิดได้อย่างไร

ต่อจากนั้นเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาการทอผ้า(นวัตกรรมการทอผ้า)

สิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จสุดยอดของผ้าไทย ก้าวขึ้นสู๋วงการแฟชั้นชั้นสูง

การสืบสานการทอลวดลายต่างๆโดยมีการจัดอบรม สอนวิธีการทอผ้าลายต่างๆ

ปืน กล่าวว่า...

ถ้าจะเปรียบเสมือนหนังเรื่อง เรื่องหนึ่งคงต้องเรียบเรียง
เรื่องราวแบบหลังไปหน้า พูดง่ายๆคือ 5-1

โดยนำเอางานที่สำเร็จแล้วมาเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อเป็นตัวอธิบายของขั้นตอนต่างๆนั้น เกิดความอยากรู้อยากเห็น
เรื่องราวของสิ่งที่นำมาจัดแสดงและนิทรรศการต่างๆที่ตามมานั้นจะเป็นการเล่าเรื่อง การเตรียมวัสดุ ,ขั้นตอนการหลมแก้ว,เทคนิคต่างๆ,ประวัติของแก้ว
แล้วมีthemeเชื่อมนิทรรศการต่างๆเข้าด้วยกันคือ "activity"ไม่ว่านิทรรศการจะเสนอเรื่องราวแบบไหน ก้อจะมีactivityเชื่อมเพื่อไม่ให้คนที่เข้ามาชมนั้นเบื่อกับหนังเรื่องนี้

ผึ้ง กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ คงจะออกมาเหมือนหนังเรื่อง SAW
เพราะมีการเล่าถึง การตายและวิธีการฆาตกรรมของผู้โชคร้ายที่โดนมารวมเล่นเกม เป็นฉากๆ เพื่อต้องการทำให้คนที่เหลือและยังอยู่เกิดความสยองขวัญขึ้น เรื่อยๆ และทำตามที่เจ้าของเกมกำหนด ไม่มีใครที่เหลือรู้ว่า เหตุการ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อไหร่

จะเล่าจะเรียงจาก.....

1.ความคิดและที่มาของการเตรียมการฆาตรกรรม จากฆาตกร ที่เคยรับสารภาพหลายๆคดี
2.ถ้าเทียบกับหนังจะเป็นส่วนที่สำคัญและตื่นเต้นที่สุด เพราะเป็นส่วนของการลงมือ ว่าใช้วิธีการอย่างไร เพราะฆาตกรส่วนใหญ่จะมีจิตที่ผิดปกติจากปมด้วยต่างๆ ซึ่งส่งผลทำให้วิธีการและความคิดของเค้า จะแปลกๆและแตกต่าง จากคนปกติ
3.ส่วนนี้จะเป็นผลจากส่วนที่ 2 ว่าจากการลงมือดังกล่าว ทำสำเร็จหรือไม่? มีวิธีการทำลายหลักฐานหรือมีบทสรุปอย่างไร? ตำรวจจับได้ทุกคดีไหม? หรือฆาตกรคนไหนยังลอยนวลอยู่ ?
4.เป็นส่วนฉากการสรุปโทษของฆาตกร ส่วนที่หลังจากคดีถูกเปิดโปงเรียบร้อยแล้ว

ถ้าเรียงเป็นเลขก็คงเป็น

1-2-3-4

แต่ แต่ละห้องก็ยังคงเป็นบรรยากาศน่ากลัว ชวนขนลุกถึงความสยองของคดีฆาตรกรรมไทยต่างๆ ก็เล่าเป็นฉากๆ ไม่เห็นถึงทางที่เดินเลยมาหรือทางที่จะเดินต่อไปเลย..

เบ็นซ์ กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ กระดาษ
จะมีการเล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์แบบ 5-1-2-3-4-5-6ตามเรื่องหาดังนี้
ตอนที่1 แสดงประวัติความเป็นมาของการเกิดกระดาษให้ผู้เข้าชมได้รู้จัดกับมันก่อนและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของกระดาษจากเริ่มแรกจึงถึงปัจจุบัน

ตอนที่2 เมื่อรู้จักกันแล้วมุนษย์เริ่มใช้กระดาษมากขึ้นก็จะทำผู้ชมเข้าไปเห็นถึงจากเปลี่ยนแปลงของกระดาษและสิ่งแวดล้อนไปพร้อมกัน

ตอนที่3 แสดงปริมาณของกระดาษที่มุนษย์ใช้

ตอนที่4 ผลกระทบ
ตอนที่5 กระดาษที่ถูกทิ้ง
ตอนที่6 กระดาษถูกกายมาเป็นขยะแล้วมันสามารถทำประโยนช์อะไรได้อีกนอกจากคำว่าขยะ

แต้ว กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์โดมิโน
จะเล่าเรื่องราวทั้งหมดโดยผ่านคำว่า infinity มาเป็นแนวความคิดในการออกแบบทั้งหมด ถ้าจะเปรียบก็เหมือนตัวเลขที่เริ่มนับจาก 2 3 4 5 ... เรื่องราวภายในจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าความพยายามของคนเราจะสิ้นสุด เมื่อถึงทางออกก็จะได้รับโดมิโน คนละ 1 ชิ้น(ซึ่งก็คือเลข1ที่เป็นตัวเริ่มต้น) ให้แต่ละคนหาบทสรุปที่ต่างกันว่า เราได้อะไรจากพิพิธภันณ์โดมิโน ความคิดที่ได้ก็จะแตกต่างกันออกไป

ต้อม กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ราชนาวีไทย

-เป็นการเล่าประสบการร์เพียงเล็กน้อยของทหารคนหนึ่ง
(ให้เกิดความสงสัยของผู็ู็้้้้้้้้ชมว่าเขาไปทำอะไรมา)
-เป็นโซนที่เข้าสู้การการบอกเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
-การเข้าสู่โซนที่เป็นโซนหลักของโครงการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของของการฝึกฝนซึ้งเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทัดไป
จากนั้นก็ได้เข้าสู่โซนการทำสงครามพร้อมกับยังยึดthemeหลักที่คือสะท้อนให้เป็นถึงความเสียสละนั้นคือการรักชาติบ้านเมืองของพวกเหล่าทหารเรือ
-จากนั้นเข้าสู่โซนสุดท้ายที่ให้เห็นความคิดของคนภายนอกว่าคิดรักชาติแบบไหน แล้วทิ้งคำถาม สุดท้ายของการเยี่ยม คือ นิยามของคำว่ารักชาติของคุณคือแบบไหน (กลับไปนึกถึงทหารคนแรกก่อนเข้าโครงการแล้วกับมาคิดกับตัวเรา)

ปัท กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ ศัลยกรรม

ถ้าทำเป็นหนังเรื่องหนึ่ง คนที่เป็นตัวเอกของเรื่องก้อคือ
ผู้ที่มาเข้าชมทุกคน
จะทำให้ผู้ที่มาเข้าชม เหมือนกับเข้ามาเล่นเกม คล้าย ๆ กับ เกมเรื่องราวของ ผู้ที่เข้ามาชม
วิธีการเล่าเรื่องราว จะแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้
1- ใช้ความรู้สึกของผูที่เข้าชมว่าต้องการที่จะทำศัลยกรรมหรือไม่ ? โดยการตอบคำถามกับตัวเอง
2- ข้อมูลเกี่ยวกับ การพบจิตแพทย์ และประวัติของบุคคลต่าง ๆ ในการพบแพทย์ก่อนที่จะทำศัลยกรรม
3- แบบอย่างของคนที่เคยทำศัลยกรรม ที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จในการทำศัลยกกรมมาแล้ว
4- วิธีและข้อมูลการทำศัลยกรรม โดยการจัดแสดงเน้นความเสมือนจริง ในส่วนโครงสร้างของใบหน้า
5- วิธีและข้อมูลการทำศัลยกรรม โดยการจัดแสดงเน้นความเสมือนจริง ในส่วนของร่างกาย
6- ผลกระทบที่ได้จากการทำศัลยกรรมแล้ว ไม่ว่าจะออกมาในแง่ดีหรือร้ายหลังจากการทำศัลยกรรม

โดยจะเรียบเรียงเนื้อหาการเล่าเรื่องราว
3-1-2-4-5-6-1
ตอนจบของเรื่อง เหมือนกับผู้ที่เข้าชมได้เข้ามาเล่นเกมค้นหาคำตอบให้กับตัวเองว่าที่แท้จริงแล้วคุณต้องการที่จะทำศัลยกรรมหรือไม่ ?
โดยแต่ละหัวข้อ ผู้ที่เข้าชมจะมีส่วนร่วมในหัวข้อนั้น ๆ ด้วย

Ammy กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์ ศิลปะการแสดง
วิธีการนำเสนอ
เราจะแบ่งหัวข้อแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อคือ
1. เป็นส่วนของการเกลิ่นนำการเล่าถึงประวัติศาสตร์ของศิลปะการแสดงของไทยตั่งแต่ยุคแรกเริ่ม
2. เป็นการแสดงตัวอย่างของบทละครหรือวรรณกรรมที่น่าสนใจและชี้บอกถึงแนวความคิดของบทละครนั้นๆ
3. เป็นส่วนที่เปิดจินตนาการการของผู้ชม โดยส่วนนี้แล้วเราจะแยกออกป็น 2ประเภทคือ
3.1 เป็นส่วนที่เปิดจินตนาการของผู้ชม ล้วนๆโดยที่ไม่มีข้อผูกมัดอะไรเลยของการเปิดจิตนาการ
3.2 เป็นส่วนที่เปิดจินตนาการของผู้ชม โดยอาจจะมีข้อบังคับบางส่วนตัวอย่างเช่น การใช้สื่อที่เข้ามาทำให้ทราบว่าส่วนนั้นเป็นเรื่องของอะไรจะได้ทำการแสดงออกมาและได้คิดตาม
4. เป็นส่วนของบทสรุปหรือคติข้อคิดต่างๆ เราก็จะเอาส่วนนี้เป็นส่วนเปิดใจของผู้เข้ามาใช้พิพิธภัณฑ์ว่าเขาได้อะไรหรือเขาประทับใจอะไรเพื่อเป็นการตอกย้ำให้เกิดกระบวนการคิดหลังจากออกจากพิพิธภัณฑ์นี้
การเล่าเรื่องจะมีขั้นตอนการเล่าดังนี้

3.1 , 1 , 2 , 3.2 , 4

เป็นการเล่าในทำนองที่ว่า เปิดเรื่องโดยการให้แสดงจินตนาการออกมาอย่างไร้ขีดจำกัด หลังจากที่ได้แสดงออกมาแล้วเราก็จะนำเสนอความรู้ดั่งเดิมที่มีการสั่งสอนมารวมถึงประวัติศาสตร์ เมื่อได้ความรู้แล้วเราก็จะไปต่อกับการดูการแสดงตัวอย่างของบทละครที่มีความโดดเด่นและบอกถึงแนวความคิด หลังจากที่เราได้ดูตัวอย่างแล้วเราก็จะไปเปิดจินตนาการกันอีกรอบแต่คราวนี้จะเป็นการเปิดจินตนาการที่มีข้อกำหนดในส่วนนี้เหมือนเป็นการสอบส่วนหนึ่ง เมื่อเราได้รับความรู้แล้วเราจะนำมาใช้อย่างไร และเราก็จะไปจบในส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนของบทสรุป ว่าเราเข้ามาใช้พิพิธภัณฑ์นี้แล้ว เราจะได้อะไรกลับไป