วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

กำหนดการส่งงาน

ให้ส่งงานวิชา Museum Studies ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2551 โดยจะถือเวลาในการส่งจากทั้งทาง email หรือทาง Msn เป็นสำคัญ ถ้าส่งล่าช้า จะถูกตัดหนึ่งเกรด ทั้งนี้หากส่งหลังจากวันที่ 23 จะถือว่าขาดการส่งงาน และต้องถูกปฏิบัติตามขั้นตอนของทางมหาวิทยาลัย เช่น ติด I ปรับตก หรืออื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้รุนแรงที่สุด
galapoo@yahoo.com
galapoo@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

งานและคะแนนที่เหลือ

1. งานไปเที่ยวชมนิทรรศการ การจัดแสดง (Exhibittion) หรือพิพิธภัณฑ์อะไรก็ได้ตามที่นักศึกษาสนใจ แล้วนำมาวิเคราะห์/วิพากษ์ โดยใช้ความรู้ที่ได้เรียนไปจากวิชานี้เป็นสำคัญ - - 10 คะแนน

2. งาน Project ใหญ่ ให้นักศึกษาทำ Story Board ของพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการซึ่งเป็นโครงการที่นักศึกษากำหนดขึ้นเอง ทั้งนี้ในการทำ Story Board ดังกล่าว ต้องประกอบไปด้วยชื่อนิทรรศการ หรือพิพิธภัณฑ์, วัตถุประสงค์ของโครงการ, เนื้อหา, การเรียงลำดับการเล่าเรื่อง, รายละเอียด/บรรยากาศของการจัดแสดงในแต่ละส่วน ทั้งนี้มีการกำหนดวัตถุจัดแสดง เทคนิคการจัดแสดง (ลักษณะงานเหมือนเขียนการ์ตูน หรือ Story Board ของการทำภาพยนตร์ หรือโฆษณา) - - 30 คะแนน

งานทั้งสองชิ้น ส่งทาง email galapoo@yahoo.com หรือ galapoo@hotmail.com
จะแจ้งวันและเวลา วันสุดท้ายในการส่งอีกครั้ง คาดว่าจะเป็นภายในเดือนตุลาคม (น่าจะเป็นกลางหรือปลายเดือน)

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ที่มาของชื่อหนัง "บาเบล" BABLE

เชื่อว่าในอดีตกาลนั้นพวกเรามนุษย์โลกอยู่กันอย่างสงบสุข
เพราะว่าทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน ช่วยเหลือกันมาโดยตลอด
นี่เองทำให้มนุษยชาติเจริญก้าวหน้าไปด้วยความรวดเร็วแต่ด้วยความเป็นมนุษย์
ความทะเยอทะยานที่มีอยู่ในสัญชาตญาณก็เริ่มที่จะคิดทำการใหญ่ใหญ่จนคิดจะต่อกรต่อเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ด้วยความเป็นน้ำหนึงใจเดียวกัน
ทำให้มนุษย์คิดสร้างหอคอย ที่จะพาตนเองไปยังสรวงสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของพระเจ้า
และหอคอยที่ชื่อว่า Babel พระเจ้าเห็นมนุษย์คิดทำการใหญ่เช่นนั้น ก็ไม่พอใจพระองค์ทรงปัดถล่มหอคอย Babel ทำให้มนุษย์ทั้งหมดที่มาช่วยร่วมมือกันสร้างหอคอยนี้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ นอกจากนี้พระองค์ ก็ทรงสาปให้ มนุษย์เหล่านี้ พูดกันคนละภาษา และอย่าได้ให้พวกมนุษย์ได้เข้าใจกันอีกนับจากวันนั้นคนเราก็มีหลายหลายเชื้อชาติ หลากหลายภาษา และเราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจกันได้...อีกเลย

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ให้นักศึกษาอ่านสองบทความต่อไปนี้ (คลิ๊กที่นี่เพื่อ download บทความ)

นักศึกษาสามารถ download บทความโดยการ click ที่ "หัวข้อ" ให้นักศึกษาอ่านสองบทความต่อไปนี้จาก link ที่ให้ไว้ และอภิปรายประเด็นที่นักศึกษาสนใจส่งใน blog นี้

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 5

ให่นศ.ไปอ่านอะไรก็ได้ (เช่น ข่าว เนื้อเพลง เรื่องสั้น นิยาย การ์ตูน) แต่ต้องเป็นเรื่องที่จบ ไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของเรื่องทั้งหมด แล้ววิเคราะห์หาโครงสร้างการเล่าเรื่อง นำมาคุยในห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 4

ถ้าพิพิธภัณฑ์ของคุณเปรียบเสมือนหนังเรื่องนึง....คุณจะเล่าเรื่องนั้นอย่างไร...

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 3

ให้นักศึกษา ระบุถึงรายละเอียดของแนวคิดเบื้องต้นของพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการที่นักศึกษากำนด
โดยแสดงการวิเคราะห์และแสดงความคิดให้ลึกซึ้ง กว้างขวางมากขึ้น รวมไปถึงให้แสดงแนวคิดในการจัดแสดง
เนื้อหาในการจัดแสดง หรืออื่น ๆ ที่จะทำให้ "โครงการ" ของนักศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 2

ตอบคำถามทั้งสองข้อต่อไปนี้
1. คุณอยากให้ผู้เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ของคุณ รู้สึก/คิด/สงสัย/ประทับใจ ว่า "อะไร" หลังจากผู้เข้าชม ได้ชมนิทรรศการของคุณแล้ว
2. คุณจะทำยังไงให้ผู้ชม รู้สึก/คิด/สงสัย/ประทับใจดังกล่าว

ส่งงานพิพิธภัณฑ์ คือ อะไร

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B
Museum Studies
ภาคต้น ปีการศึกษา 2551
ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(ฉบับร่างครั้งที่ 1)
ระดับวิชา : ปริญญาตรี
ผู้สอน : ภูริทัต ไชยเศรษฐ์ (galapoo@hotmail.com)
วัน-เวลา-สถานที่ : พฤหัส 13:00 – 16:30 ห้อง R744

วัตถุประสงค์รายวิชา :
1. เข้าใจเรื่องพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการ ที่เกิดขึ้นในงานออกแบบตกแต่งภายใน ในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการบรรจุทั้งวัตถุ เนื้อหา และอำนาจ ภายใต้กรอบการศึกษาเรื่อง “พื้นที่” ในแนวคิดเชิงวิพากษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในเรื่องบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทย
2. สามารถนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา/งานออกแบบที่นักศึกษาสนใจ
3. มีความตระหนัก/ระแวดระวังถึงการออกแบบ การบรรจุวัตถุ เรื่องราว เนื้อหาลงในพื้นที่การจัดแสดง ในฐานะที่เป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ

กรอบคิดของวิชา :
พื้นที่ของนิทรรศการ = อำนาจ ความทรงจำ อุดมการณ์ + การออกแบบ
กล่าวคือ
- วิชานี้เน้นการตังคำถามถึงการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมเพื่อมาจัดแสดงในนิทรรศการ ทั้งนี้การจะเข้าใจกระบวนการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งดังกล่าว เป็นผลมาจาก “อำนาจ” ในการกำหนดเนื้อหาของนิทรรศการผ่านความทรงจำ หรือการครอบงำทางสังคม
- เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นข้างต้น นักศึกษาต้องการความเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน อันได้แก่ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ทั้งในสังคมโลกและสังคมไทย และวิวัฒนาการและแนวคิด/ทฤษฎีว่าด้วยการจัดนิทรรศการ ในฐานะที่เป็นผลสะท้อนมาจากการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง

การเรียนการสอน : บรรยายและอภิปราย ผู้สอนจะบรรยายประมาณ 1: 30 ชม. และมีการอภิปรายเชิงสัมมนาจากชั้นเรียน โดยเป็นการอภิปรายตามประเด็นจากการอ่านที่ผู้สอนกำหนดขึ้นตามตารางการเรียนการสอน

การวัดผล :
การเข้าชั้นเรียน 10 คะแนน
งานในชั้นเรียน 20 คะแนน
Mid term Project 30 คะแนน
Final Project 40 คะแนน

ตารางเรียน เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ และเอกสารประกอบการเรียนการสอน
5 มิ.ย.
แนะนำรายวิชา สรุปข้อตกลงวิธีการเรียนการสอน การประเมินผล
12 มิ.ย.
พิพิธภัณฑ์ คือ อะไร? ประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการจัดนิทรรศการ ทั้งในระดับสังคมไทย และสังคมโลก
19 มิ.ย.
ลักษณะของพิพิธภัณฑ์ และ นิทรรศการประเภทต่าง ๆ
26 มิ.ย.
แนวคิดเรื่อง “พื้นที่” การเมืองเรื่องพื้นที่ - พื้นที่ทางการเมือง
- ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, มิแช็ล ฟูโกต์
3 ก.ค.
บริบททางสังคมในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม
- ชาตรี ประกิตรนนทการ, ประชา สุวีรานนท์
10 ก.ค.
กระบวนการกำหนดเนื้อหาในการออกแบบนิทรรศการ
17 ก.ค.
การจัดการ “พื้นที่” ในการออกแบบนิทรรศการ
24 ก.ค.
เทคนิคการจัดแสดง
31 ก.ค.
วิทยาการรับเชิญ ชาญวิทย์ ตรีประเสริฐ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร
- ประสบการณ์การทำงานด้านพิพิธภัณฑ์
7 ส.ค.
ชมพิพิธภัณฑ์
- Discovery Museum มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เปรียบเทียบกับ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
14 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอบทวิพากษ์/วิเคราะห์พิพิธภัณฑที่ได้ไปชม อภิปรายแสดงความเห็น
21 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอกรอบแนวคิดโครงการพิพิธภัณฑ์/นิทรรศการของนักศึกษาเอง
โดยนัดหมายรูปแบบการส่งงาน และวันส่งงานภายหลัง
28 ส.ค.
อภิปรายสรุปการเรียนการสอน

รายชื่อหนังสือบังคับอ่าน :
ประชา สุวีรานนท์. ดีไซน์+คัลเจอร์: รวมบทความจากมติชนสุดสัปดาห์.: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. 2551.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา. 2545.
ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม: สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. 2547.
มิแช็ล ฟูโกต์. ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. ทองกร โภคธรรม (แปล).กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2547.