วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B
Museum Studies
ภาคต้น ปีการศึกษา 2551
ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(ฉบับร่างครั้งที่ 1)
ระดับวิชา : ปริญญาตรี
ผู้สอน : ภูริทัต ไชยเศรษฐ์ (galapoo@hotmail.com)
วัน-เวลา-สถานที่ : พฤหัส 13:00 – 16:30 ห้อง R744

วัตถุประสงค์รายวิชา :
1. เข้าใจเรื่องพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการ ที่เกิดขึ้นในงานออกแบบตกแต่งภายใน ในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการบรรจุทั้งวัตถุ เนื้อหา และอำนาจ ภายใต้กรอบการศึกษาเรื่อง “พื้นที่” ในแนวคิดเชิงวิพากษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในเรื่องบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทย
2. สามารถนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา/งานออกแบบที่นักศึกษาสนใจ
3. มีความตระหนัก/ระแวดระวังถึงการออกแบบ การบรรจุวัตถุ เรื่องราว เนื้อหาลงในพื้นที่การจัดแสดง ในฐานะที่เป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ

กรอบคิดของวิชา :
พื้นที่ของนิทรรศการ = อำนาจ ความทรงจำ อุดมการณ์ + การออกแบบ
กล่าวคือ
- วิชานี้เน้นการตังคำถามถึงการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมเพื่อมาจัดแสดงในนิทรรศการ ทั้งนี้การจะเข้าใจกระบวนการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งดังกล่าว เป็นผลมาจาก “อำนาจ” ในการกำหนดเนื้อหาของนิทรรศการผ่านความทรงจำ หรือการครอบงำทางสังคม
- เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นข้างต้น นักศึกษาต้องการความเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน อันได้แก่ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ทั้งในสังคมโลกและสังคมไทย และวิวัฒนาการและแนวคิด/ทฤษฎีว่าด้วยการจัดนิทรรศการ ในฐานะที่เป็นผลสะท้อนมาจากการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง

การเรียนการสอน : บรรยายและอภิปราย ผู้สอนจะบรรยายประมาณ 1: 30 ชม. และมีการอภิปรายเชิงสัมมนาจากชั้นเรียน โดยเป็นการอภิปรายตามประเด็นจากการอ่านที่ผู้สอนกำหนดขึ้นตามตารางการเรียนการสอน

การวัดผล :
การเข้าชั้นเรียน 10 คะแนน
งานในชั้นเรียน 20 คะแนน
Mid term Project 30 คะแนน
Final Project 40 คะแนน

ตารางเรียน เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ และเอกสารประกอบการเรียนการสอน
5 มิ.ย.
แนะนำรายวิชา สรุปข้อตกลงวิธีการเรียนการสอน การประเมินผล
12 มิ.ย.
พิพิธภัณฑ์ คือ อะไร? ประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการจัดนิทรรศการ ทั้งในระดับสังคมไทย และสังคมโลก
19 มิ.ย.
ลักษณะของพิพิธภัณฑ์ และ นิทรรศการประเภทต่าง ๆ
26 มิ.ย.
แนวคิดเรื่อง “พื้นที่” การเมืองเรื่องพื้นที่ - พื้นที่ทางการเมือง
- ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, มิแช็ล ฟูโกต์
3 ก.ค.
บริบททางสังคมในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม
- ชาตรี ประกิตรนนทการ, ประชา สุวีรานนท์
10 ก.ค.
กระบวนการกำหนดเนื้อหาในการออกแบบนิทรรศการ
17 ก.ค.
การจัดการ “พื้นที่” ในการออกแบบนิทรรศการ
24 ก.ค.
เทคนิคการจัดแสดง
31 ก.ค.
วิทยาการรับเชิญ ชาญวิทย์ ตรีประเสริฐ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร
- ประสบการณ์การทำงานด้านพิพิธภัณฑ์
7 ส.ค.
ชมพิพิธภัณฑ์
- Discovery Museum มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เปรียบเทียบกับ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
14 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอบทวิพากษ์/วิเคราะห์พิพิธภัณฑที่ได้ไปชม อภิปรายแสดงความเห็น
21 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอกรอบแนวคิดโครงการพิพิธภัณฑ์/นิทรรศการของนักศึกษาเอง
โดยนัดหมายรูปแบบการส่งงาน และวันส่งงานภายหลัง
28 ส.ค.
อภิปรายสรุปการเรียนการสอน

รายชื่อหนังสือบังคับอ่าน :
ประชา สุวีรานนท์. ดีไซน์+คัลเจอร์: รวมบทความจากมติชนสุดสัปดาห์.: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. 2551.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา. 2545.
ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม: สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. 2547.
มิแช็ล ฟูโกต์. ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. ทองกร โภคธรรม (แปล).กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2547.

1 ความคิดเห็น:

เกตุ กล่าวว่า...

พิพิธภัณฑ์
[พิพิดทะพัน] มีรากศัพท์มาจากภาษา บาลี-สันกฤต จากคำว่า วิวิธ ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า ต่างๆ กัน สมาส กับคำว่า ภัณฑ์ ซึ่งเป็นคำนาม แปลว่า สิ่งของเครื่องใช้ ดังนั้น เมื่อรวมกันจึงได้คำว่า วิวิธภัณฑ์ หรือ ตามสำเนียงไทย คือ คำว่า พิพิธภัณฑ์นั่นเอง ซึ่งถ้าแปลตามรูปศัพท์แล้ว หมายถึงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าแปลโดยเอาความหมายที่สื่อสารกันแล้ว ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้กล่าวไว้ว่า พิพิธภัณฑ์ เป็นคำนาม หมายถึง "สิ่งของต่างๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เช่น โบราณวัตถุ หรือ ศิลปวัตถุ" ซึ่งถึงแม้ว่า ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้เช่นนั้น แต่การใช้คำว่า พิพิธภัณฑ์ ในปัจจุบันมักนิยมหมายถึง "สถานที่หรือ สถาบัน สำหรับเก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา" ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของพิพิธภัณฑ์นี้ได้แปรเปลี่ยนไปจากรูปศัพท์เดิม กลายเป็นมีความหมายเดียวกันกับคำว่า พิพิธภัณฑสถาน
(จาก http://th.wikipedia.org/wiki/)

พิพิธภัณฑสถาน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสงวนรักษาและจัดการแสดงวัตถุอันมีความสำคัญ ทางวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และความเพลิดเพลิน ให้รวมถึง หอศิลป์อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานอื่นๆ ที่จัดแสดงสิ่งมีชีวิตต่างๆ (นิคม มุสิกะคามะ, 2530)
ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม (2530) อ้างถึงใน ธีรศักดิ์ อัครบวร (2537) กล่าวว่า พิพิธภัณฑสถานมีความหมายสำคัญโดยตรงต่อการศึกษานอกระบบ หรือนอกหลักสูตร กล่าวคือ เป็นแหล่งรวมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้แก่คนในสังคมช่วยให้คน ในสังคม แต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาครู้จักตนเอง และอีกประการหนึ่งก็คือ แสดงให้คนภายนอกที่เป็นชาวต่างชาติ ได้รู้ความเป็นมาทางวัฒนธรรม ของบ้านเมืองของเราอย่างถูกต้อง ซึ่งนับว่าพิพิธภัณฑ์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการศึกษาจากความหมายดังกล่าวข้างต้น จึงพอสรุปได้ว่า พิพิธภัณฑสถาน คือ สถานที่รวบรวมเก็บรักษา และจัดแสดงวัตถุที่เป็นของจริง ของจำลอง ที่มีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาค้นคว้า และความเพลิดเพลิน การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ถือเป็นหน้าตา ศักดิ์ศรี และเกียรติยศ ของเมือง หรือ ของประเทศชาติด้วย เพราะนอกจากเป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่นต่อเกียรติประวัติแล้ว ยังเป็นการศึกษาแหล่งสำคัญของ ท้องถิ่นด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ 2417 โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดตั้งขึ้นครั้งแรก ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดีย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของต่างประเทศ ที่เก่าแก่ที่สุดคือ บริทิช มิวเซียม (The British Museum) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1759 พิพิธภัณฑสถานสาธารณะแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งที่เมืองชาร์ลตัน (Charleston) เซาท์คาโรไลนา ในปี ค.ศ. 1773 ส่วนพิพิธภัณฑสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐอเมริกาคือ สถาบันสมิธโซเนียน ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1846
(จาก http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs/html/1040/lesson1.html)

พิพิธภัณฑ์ ความหมายของพิพิธภัณฑ์ " ตามที่สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM (International Council of Museums) ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้วว่า " พิพิธภัณฑ์ " คือ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร เป็นสถาบันที่ถาวรในการรวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย สื่อสาร และจัดแสดงนิทรรศการ ให้บริการแก่สังคมเพื่อการพัฒนา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าการศึกษา และความเพลิดเพลิน โดยแสดงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อม สิ่งซึ่งสงวนรักษาและจัดแสดงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุ แต่ได้รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วยโดยรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่สงวนสัตว์น้ำ และสถานที่อันจัดเป็นเขตสงวนอื่นๆ รวมทั้งโบราณสถานและแหล่งอนุสรณ์สถาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง "
จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของพิพิธภัณฑ์นั้นกว้างมาก ครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งได้หลายแบบและบางแห่งก็จัดได้หลายประเภท เช่น ๑) แบ่งตามการสะสมรวบรวมวัตถุ ( Collection) ๒) แบ่งตามต้นสังกัดหรือการบริหาร เช่น พิพิธภัณฑ์ของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ๓) แบ่งตามลักษณะของผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป หรือ ๔) แบ่งตามการจัดแสดง เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
(จาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/)