วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 4

ถ้าพิพิธภัณฑ์ของคุณเปรียบเสมือนหนังเรื่องนึง....คุณจะเล่าเรื่องนั้นอย่างไร...

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 3

ให้นักศึกษา ระบุถึงรายละเอียดของแนวคิดเบื้องต้นของพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการที่นักศึกษากำนด
โดยแสดงการวิเคราะห์และแสดงความคิดให้ลึกซึ้ง กว้างขวางมากขึ้น รวมไปถึงให้แสดงแนวคิดในการจัดแสดง
เนื้อหาในการจัดแสดง หรืออื่น ๆ ที่จะทำให้ "โครงการ" ของนักศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งที่ 2

ตอบคำถามทั้งสองข้อต่อไปนี้
1. คุณอยากให้ผู้เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ของคุณ รู้สึก/คิด/สงสัย/ประทับใจ ว่า "อะไร" หลังจากผู้เข้าชม ได้ชมนิทรรศการของคุณแล้ว
2. คุณจะทำยังไงให้ผู้ชม รู้สึก/คิด/สงสัย/ประทับใจดังกล่าว

ส่งงานพิพิธภัณฑ์ คือ อะไร

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B

เค้าโครงการสอนวิชา IN 493 Design Elective B
Museum Studies
ภาคต้น ปีการศึกษา 2551
ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(ฉบับร่างครั้งที่ 1)
ระดับวิชา : ปริญญาตรี
ผู้สอน : ภูริทัต ไชยเศรษฐ์ (galapoo@hotmail.com)
วัน-เวลา-สถานที่ : พฤหัส 13:00 – 16:30 ห้อง R744

วัตถุประสงค์รายวิชา :
1. เข้าใจเรื่องพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการ ที่เกิดขึ้นในงานออกแบบตกแต่งภายใน ในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการบรรจุทั้งวัตถุ เนื้อหา และอำนาจ ภายใต้กรอบการศึกษาเรื่อง “พื้นที่” ในแนวคิดเชิงวิพากษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในเรื่องบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทย
2. สามารถนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา/งานออกแบบที่นักศึกษาสนใจ
3. มีความตระหนัก/ระแวดระวังถึงการออกแบบ การบรรจุวัตถุ เรื่องราว เนื้อหาลงในพื้นที่การจัดแสดง ในฐานะที่เป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ

กรอบคิดของวิชา :
พื้นที่ของนิทรรศการ = อำนาจ ความทรงจำ อุดมการณ์ + การออกแบบ
กล่าวคือ
- วิชานี้เน้นการตังคำถามถึงการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมเพื่อมาจัดแสดงในนิทรรศการ ทั้งนี้การจะเข้าใจกระบวนการหยิบ/เลือก/ตัดทิ้งดังกล่าว เป็นผลมาจาก “อำนาจ” ในการกำหนดเนื้อหาของนิทรรศการผ่านความทรงจำ หรือการครอบงำทางสังคม
- เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นข้างต้น นักศึกษาต้องการความเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน อันได้แก่ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ทั้งในสังคมโลกและสังคมไทย และวิวัฒนาการและแนวคิด/ทฤษฎีว่าด้วยการจัดนิทรรศการ ในฐานะที่เป็นผลสะท้อนมาจากการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง

การเรียนการสอน : บรรยายและอภิปราย ผู้สอนจะบรรยายประมาณ 1: 30 ชม. และมีการอภิปรายเชิงสัมมนาจากชั้นเรียน โดยเป็นการอภิปรายตามประเด็นจากการอ่านที่ผู้สอนกำหนดขึ้นตามตารางการเรียนการสอน

การวัดผล :
การเข้าชั้นเรียน 10 คะแนน
งานในชั้นเรียน 20 คะแนน
Mid term Project 30 คะแนน
Final Project 40 คะแนน

ตารางเรียน เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ และเอกสารประกอบการเรียนการสอน
5 มิ.ย.
แนะนำรายวิชา สรุปข้อตกลงวิธีการเรียนการสอน การประเมินผล
12 มิ.ย.
พิพิธภัณฑ์ คือ อะไร? ประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการจัดนิทรรศการ ทั้งในระดับสังคมไทย และสังคมโลก
19 มิ.ย.
ลักษณะของพิพิธภัณฑ์ และ นิทรรศการประเภทต่าง ๆ
26 มิ.ย.
แนวคิดเรื่อง “พื้นที่” การเมืองเรื่องพื้นที่ - พื้นที่ทางการเมือง
- ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, มิแช็ล ฟูโกต์
3 ก.ค.
บริบททางสังคมในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม
- ชาตรี ประกิตรนนทการ, ประชา สุวีรานนท์
10 ก.ค.
กระบวนการกำหนดเนื้อหาในการออกแบบนิทรรศการ
17 ก.ค.
การจัดการ “พื้นที่” ในการออกแบบนิทรรศการ
24 ก.ค.
เทคนิคการจัดแสดง
31 ก.ค.
วิทยาการรับเชิญ ชาญวิทย์ ตรีประเสริฐ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร
- ประสบการณ์การทำงานด้านพิพิธภัณฑ์
7 ส.ค.
ชมพิพิธภัณฑ์
- Discovery Museum มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เปรียบเทียบกับ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
14 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอบทวิพากษ์/วิเคราะห์พิพิธภัณฑที่ได้ไปชม อภิปรายแสดงความเห็น
21 ส.ค.
นักศึกษานำเสนอกรอบแนวคิดโครงการพิพิธภัณฑ์/นิทรรศการของนักศึกษาเอง
โดยนัดหมายรูปแบบการส่งงาน และวันส่งงานภายหลัง
28 ส.ค.
อภิปรายสรุปการเรียนการสอน

รายชื่อหนังสือบังคับอ่าน :
ประชา สุวีรานนท์. ดีไซน์+คัลเจอร์: รวมบทความจากมติชนสุดสัปดาห์.: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. 2551.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา. 2545.
ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม: สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. 2547.
มิแช็ล ฟูโกต์. ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. ทองกร โภคธรรม (แปล).กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2547.