วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ให้นักศึกษาอ่านสองบทความต่อไปนี้ (คลิ๊กที่นี่เพื่อ download บทความ)

นักศึกษาสามารถ download บทความโดยการ click ที่ "หัวข้อ" ให้นักศึกษาอ่านสองบทความต่อไปนี้จาก link ที่ให้ไว้ และอภิปรายประเด็นที่นักศึกษาสนใจส่งใน blog นี้

14 ความคิดเห็น:

+ o = กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

คิดว่า ในแผนที่เป็นมากกว่าภาพที่บอกถึง
ประเทศหรือสถานที่ แต่บอกถึงเรื่องราว ประวัติศาสตร์
หรือสะท้อนในสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านแผนที่ออกมาด้วย
การออกแบบแผนที่จึงเป็นมากกว่าการทำภาพที่แสดง
สถานที่ แต่เป็นการออกแบบเพื่อให้ภาพนั้นเป็นที่จดจำ
และแสดงคุณค่าของสถานที่นั้นๆด้วย

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

ชอบในเรื่องการออกแบบพิพิธภัณฑ์ให้สมดุลระหว่าง
ตัวตึกและการออกแบบภายในเพื่อเป็นการไม่ให้เกิด
ความขัดแย้งที่เกิดจากรูปทรงของตึกที่มีความแปลก
ในรูปทรงที่บิดไปมากับสิ่งที่นำมาเสนอให้เป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน
และอีกเรื่องคือการนำเสนอที่เป็นการผสมผสานระหว่าง
การนำเสนอแนวเก่ากับแนวใหม่เพื่อให้เข้าถึงคนในได้
วงกว้าง ทำให้ผู้ชมได้เลือกชมเนื้อหาตามความชอบ

ออฟ กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

คิดว่า จากที่ได้อ่านบนความข้างต้นนั้นแล้วจะเห็นว่าแผนที่นั้นไม่ได้เป็นแค่แผนที่แต่ยังบ่งบอกถึงสถาณการณ์ต่างๆภายในแผนที่ของประเทศนั้นด้วยและยังบอกภาพลักษณ์ของประเทศที่แผนที่เป็นรูปร่างต่างๆที่ทำให้จดจำได้ง่ายมากขึ้น อย่างประเทศไทยนั้นเป็นภาพขวานและภาพรูปสัตว์ต่างๆ นั้นก็จะได้บ่งบอกว่าประเทศไทยนั้นเป็นยังไง มีอะไรบ้าง

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

คือที่ได้อ่านคราวๆมานั้น จะเห็นว่ามีการเล่าเรื่องในพิพิธภัณฑ์นั้นสอดคล้องกันเป็นอย่างดี มีความคิดว่าเรื่องราวนั้นนำมาบอกผู้ที่ได้เข้ามาชมนั้นโดยที่แสดงจากทางเดินหรือว่าแสงที่ส่องเข้ามาแล้วก็ภายนอกอาคารนั้นจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆได้ พิพิธภัณฑ์นี้จะไม่มีประตู ผู้ที่เข้ามาดูนั้นจะต้องเดินผ่านพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินเก่าแล้วลงไปใต้ดิน เปรียบเสมือนว่า เข้าไปสู้อีกยุคหนึ่ง

เบ็นซ์ กล่าวว่า...

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

จากที่ได้อ่านบทความแล้วได้เรียนรู้ถึงการจัดพิพิธภัณฑ์แบบเก่าและแบบใหม่เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวทั้งในเรื่องของตัวอาคารที่ใช้เล่าเรื่องราวให้ได้เห็นถึงสภาพของคนชาวยิวที่ถูกกระทำและการจัดนิทรรศการได้มีการเรียงความน่าสนใจมากมันไม่ใช่ป็นแค่พิพิธภัณฑ์แต่มันเป็นสถานที่ที่บอกถึงความศูนญ์เสียที่สามารถเข้าใจได้จริงๆๆๆๆๆ

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

เป็นบทความที่ได้กล่าวถึงการอุปมาอุปไมของภาพแผนที่ของประเทศต่างๆที่มีการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เห็นในรูปแบบของภาพทีสามารถตีความหมายได้หลายอย่าง

ปัท กล่าวว่า...

- ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก
จากที่อ่านเนื้อหา คิดว่า แผนที่คือ สัญลักษณ์ และความรู้ รู้ในเรื่องของภูมิศาสตร์ เป็นความรู้ที่ทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อให้รู้ถึงพื้นที่ เป็นสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายแต่ในเชิงอุปมาแผนที่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดมาในรูปแบบของศิลปะ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสนุกสนาน เหมือนเป็นการออแบบที่จำได้ง่ายในเรื่องราวของแผนที่นั้น ๆ เหมือนเป็นการเล่าเรื่องราวในอดีตของประเทศผ่านแผนที่เป็นส่วนใหญ่เพื่อสร้างความเข้าใจโดยผ่านรูปภาพและตัวอักษร
- ประวัติศาสตร์บนเส้นคด
จากที่อ่านเนื้อหา พิพิธภณฑ์เน้นการออกแบบภายนอกและภานในรูปทรงของตึกเพื่อเป็นจุดเด่น และสร้างความสนใจให้กับผู้ชม เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์
มีการออกแบบที่เข้ากับเนื้อหา การวางเรื่องราวตั้งแต่อดีตโดยการนำเรื่องราวของชาวยิวทีสำเร็จและล้มเหลวมาเล่าผ่านพื้นที่ภายใน สร้างความสนุกและแปลกใหม่
ทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกที่เกิดการสูญเสียในยุค นั้น ๆ
จากความกดดันของการออกแบบพิพิธภัณฑ์ในรูปของเส้นทางเดิน

ใหม่ กล่าวว่า...

-ประวัติศาสตร์บนเส้นคด
อยากให้ประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์แบบนี้บ้าง
เพื่อให้คนที่ได้เข้ามาดู ได้คิดมากกว่าที่จะมาเดินอ่านความรู้เดิมๆ แต่ถ้าทุกคนได้คิด ต่างก็จะได้ความคิดใหม่ๆและแตกออกไปอีกมากมาย
-ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก
รูปประเทศไทย มันมีความนัยหรืออุดมการณ์แอบแฝงอยู่ เพื่อให้คนในประเทศมองเห็นอะไรบ้างอย่างที่แฝงอยู่ในรูปนั้นๆ(แต่คนก็ได้แต่มองผ่านมันไป เห็นเป็นแค่รูปธรรมดารูปหนึ่ง )

Ammy กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

- เป็นการผูกเรื่องราวและสถานการต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเป็นสถานการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์และหน้าจดจำโดยผ่านการจำลองออกมาในรูปแบบของรูปภาพทำให้คนมองแล้วเกิดความรู้ศึกและจดจำจนชินตา จนกลายเป็นจิตสำนึก

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

- ชอบในการมองถึงเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์และอารมณ์ สามารถนำมาทำให้เป็นรูปธรรมได้ และยังสะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดลึกๆของชาวยิว

กิ๊บ กล่าวว่า...

-ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

การเลือกใช้สถาปนิกในการออกแบบ ควรใช้ที่มีความเป็นกลางไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการให้ผู้มารับชมได้รับความรู้ และความเป็นจริงไม่ใช่เนื้อหาที่เข้าข้างกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


-ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

เป็นการดีไซน์ที่เกิดขึ้นในแผนที่ประเทศ ซึงแฝงด้วยความหมายโดยนัยเพื่อแสดงถึงตัวตน แนวความคิด และจิตสำนึกให้กับคนในชาติ

โซ่ กล่าวว่า...

โซ่
ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก
คิดว่าแผนที่บอกให้เห็นถึงสถานภาพเรื่องราว หรือบอกเป็นเชิงเปรียบเทียบ เเผนที่ไทยที่ได้เห็นในเเบบต่างๆ
มันสื่อถึงเป็นการบอกว่าเป็นไปในทางนี้อย่างภาพสัตว์ป่ามันไม่ได้บอกถึงความอุดมสมบูรณ์อะไรแต่แทนตัวเราอย่างสัตว์ป่าที่มันต้องการที่อยู่แสดงความคิดที่แตกต่างกันไปในแผนที่คิดว่ามันเป็นการให้ความหมายในเชิงเปรียบเปรย

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด
จากที่ได้อ่านคิดว่า เริ่มตั้งเเต่ตัวตึกก็ได้สร้างเป็นจุดเด่นเเล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์มันได้เล่าเรื่องราวโดยพื้นที่และทางเดินบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวยิวต้องอยู่ในที่แล้วมันก็ให้ความรู้สึกของผู้เข้าชมแบบทางเดินบังคับเดินตามเส้นของตัวตึก

Bigg กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

- จากบทความ และรูปภาพ ที่เกิดจากการใช้กราฟฟิกดีซายด์ภายในภาพจะแฝงไปด้วยการปลุกระดมไปในตัวให้คนรักชาติและรังเกียดชาติข้างเคียง โดยอาจไม่รู้เหตุผลหรือต้นตอที่แน่ชัด แค่เพียงเพราะภาพ และคำพูดซึ้งอ้างอิงไม่หมดนั่นเอง ภาพทั้งหมดเพียงแค่เกิดจากจินตนาการของคน ๆ หนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง แต่แค่ภาพแค่นี้ก้สามารถทำให้เกิดแรงบรรดาลใจในการปลุกระดมได้แล้ว

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

- ตามที่เข้าใจ เส้นตรงคงหมายความว่าเดินแบบพิพิธภัณฑ์ แบบเก่า ๆ คือยกย่องแต่เรื่องดีดีไม่สะสมเรื่องย้ำแย่ แต่พิพิธภัณฑ์ของชาวยิวจะแสดง ทั้งเรื่องดีและเศร้าปนกันไปและแสดงออกมาในรูปแบบformของสถาปัตย์ที่เอนไปเอนมา

เกตุ กล่าวว่า...

ชอบในส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่มีการออกเเบบโครงสร้าสถาปัตยกรรมโดยให้เกี่ยวพันกับเนื้อเรื่องการจัดพิพิธภัณฑ์ โดยมีการคิดตั้งแต่รูปที่มองจากมุมบนและสัญลักษณืที่มีการตีความหมายในเรื่องของยิวออกมา
ในตอนสุดท้ายที่สรุปออกมาในเรื่องของ
"ความน่าสนใจ" และ "ความน่าเชื่อถือ"
หากการออกแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์นั้นควรนำทั้ง2เรื่องมารวมกันโดยความน่าเชื่อถือยังคงมีอยู่และความน่าสนใจที่เป็นส่วนสนับสนุนความน่าเชื่อถือ
เพราะหากขาดส่วนใดไป เช่นขาดความน่าสนใจพิพิธภัณฑ์นั้นคงไม่มีผู้คนสนใจมากนักแต่หากขาดความน่าเชื่อถือพิพิธภัณฑ์ก็คงดู้เป็นเหมือนที่เที่ยวเล่นอีกแห่งนึงเท่านั้น รวมแล้วพิพิธภัณฑ์ควรมีทั้งความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจ

ในเรื่องของแผนที่
เห็นด้วยในการบอกกล่าวเรื่องราวเป็นในทางภาพเพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูก่อนที่จะอ่านลายละเอียด
และแผนที่ในความรู้สึกส่วนตัวนั้นคือสิ่งที่บ่งบอกถึงชาติ
อย่างภาพที่แสดงให้เห็นถึงการที่ประเทศไทยกำลังจะโดนชาวต่างชาติอ้าปากเขมือบ เพียงมองผ่านๆยังรับรู้ได้ว่าเรากำลังจะเสียชาติ..โดยสิ่งเหล่านี้สามารถปลุกใจผู้คนหรือแสดงถึงอารายธรรมอีกด้วย

ttopp กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

เรื่องเพียงเรื่องเดียว สามารถสื่อออกมาได้เป็นร้อยเป็นพันรูปแบบ
อยู่ที่ว่า ศิลปินคนใดจะจับเอาใจความและหยิบยกประเด็นออกมาดีไซน์ได้มากน้อยเพียง และตรงกับผู้เข้าชมได้ดีเพียงใด ศิลปินคนนี้ได้"เข้าถึง" หัวจิตหัวใจของคนยิวได้ดี และสื่อออกมาในรูปแบบที่เค๊าเองเข้าใจ แต่งานนี้เชื่อว่า ถ้าไม่มีคำอธิบาย น้อยนักที่จะมีคนเข้าใจสิ่งที่เขาแสดงออกมา

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

สิ่งที่เขียนขึ้นเพื่อกำหนดเขตแดนยังมีวันหมดคุณค่า
นับอะไรกับสิ่งที่เราจัดแสดง ทำยังไง
ให้มันมี"คุณค่า"อยู่เสมอ??

ttopp กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ปิง กล่าวว่า...

พิพิธภัณท์ของชาวยิว

ในส่วนของเรื่องโครงสร้างได้สร้างความรู้สึกที่มีต่อคนดูในมุมมองที่เป้นมุมกว้างเล่นกับความรู้สึกของผู้ชมในนิทรรศ์การณ์ได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของแปลนก็เช่นกันทำให้ผมได้คิดว่าการออกแบบพิพิธภัณท์นั้นไมได้ออกแบบไปที่เนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือเท่านั้นแต่พื้นที่ในการจัดแสดงงานยังเป็นตัวสร้างความรู้สึกบางอย่างของความหมายในเนื้อหาของพิพิธภัณท์การที่ใช้พื้นที่ขัดแย้งกับความต้องการในการใช้พื้นที่จิงนั้นสร้างความรู้สึกนั้นขัดแย้ง จนก่อให้เกิดจินตนาการของยุคสมัยที่พิพิธภัณท์กำลังแสดงออก

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

แผนที่นั้นเป็นเหมือนบริบทมที่แสดงถึงสิ่งบางอย่างที่คนเราเข้าจัยกันอยู่แล้วเช่นเดียวกับตัวหนังสือที่เมือ่เราเห็นเราจะสามารถรู้ได้ทันที่ว่ามันคืออะไร

ในบทความ

บทความที่ได้เห็นได้อ่านนั้นมันภูมิศาสตร์ไมได้เป็นแค่พื้นที่ที่เป็นอยู่อย่างที่เห็นซึ่งถ้ามองไปอีกมุมนึงเราจะสามารถเข้าจัยสิ่งที่ซ่อนเร้นสิง่ที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้หรือว่าแผนที่นั้นก็สามารถแสดงสิ่งบางอย่างโดยแค่เปลี่ยนรายละเอียดภายในดั่งเช่นนั้นข้อความนั้นได้แสดงถึงมุมมองแต่ละคนที่แสดงออกมาในรูปแบบที่ต่างกันสามารถทำให้เปลี่ยนความคิดเดิมๆๆที่เคยมีต่อสิ่งที่เห้นนั้นได้ซึ่งนั้นก็หมายถึงการเสริมบริบทที่มีอยู่แล้วให้แสดงรูปแบบให้ออกมาอีกรูปแบบนึง

Ball กล่าวว่า...

ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก

จากที่ได้อ่านไม่คิดเลยว่าแค่เพียงเส้นบอกตำแหน่งของเขตแดนหรือหราฟิคที่ทำขึ้นมาเพื่อความสวยงามจะมีอิธิพลมากถึงเพียงนี้ ในตัวภาพอาจจะซ่อนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่สำคัญหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นอยู่แต่กลับทำให้เกิดอธิพลในความคิดของผู้อ่านอย่างมากดั่งที่ในหนังสือยกตัวอย่างเรื่อง ขวานทองของไทยแค่เพี่ยงกำหนดให้ไทยมีเขตเดนสักษณะเหมือนขวานแล้วปลูกฝังให้คนในชาติจะลักษณะนี้ไว้ก็สามารถรักชาติและเขตแดนของตัวเองได้ถึงเพียงนี้

ประวัติศาสตร์บนเส้นคด

จากที่ได้อ่านผมชอบพิพิธภัณฑ์ชาวยิวในเรื่องของการนำเอาเรื่องราวมาตีความแล้วทำเป็นโลโก้ออกมาได้อย่างเข้าใจแล้วยังนำไปออกแบบให้สอดคล้องได้อย่างลงตัว เหมือนที่ตัวแดเนียลอธิบายตัวตึกให้ฟังก็เข้าใจทันที การนำเอาลูกเล่นเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ทำได้อย่างดีแม้จะมีบางอย่างที่เกินไปจริงๆก็ตาม